การรายงานตัว 90 วัน ของแรงงานต่างด้าว

คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวแล้ว ถ้าอยู่ในราชอาณาจักรเกิน 90 วัน   คนต่างด้าวผู้นั้นมีหน้าที่ต้องรายงานตัวแจ้งที่พักอาศัยต่อพนักงานสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ทุก90 วัน หากท้องที่ใดมีที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองตั้งอยู่จะแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ทำการแห่งนั้น ก็ได้ เป็นไปตาม มาตรา 37(5) แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 วิธีการแจ้ง คนต่างด้าวไปดำเนินเรื่องด้วยตนเอง 2. คนต่างด้าวมอบหมายให้ผู้อื่นนำหนังสือไปดำเนินเรื่อง 3. คนต่างด้าวอาจมีหนังสือแจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน เอกสารในการแจ้ง กรณยื่นด้วยตนเอง 1. หนังสือเดินทาง (Passport) 2. ใบรับแจ้งการอยู่เกิน 90 วัน (กรณีที่มีการแจ้งอยู่เกิน90 วันมาแล้ว) 3. กรอกรายละเอียดใน แบบฟอร์ม ตม. 47 พร้อมลงลายมือชื่อ ข้อควรระวัง 1. คนต่างด้าวสามารถแจ้งที่พักอาศัยได้ ก่อน 15 วันหรือหลัง 7 วัน นับจากวันครบกำหนด หากเกินกำหนดนัด หรือเกินกำหนดที่จะต้องแจ้ง คนต่างด้าวต้องมารายงานตัวด้วยตนเองเพื่อดำเนินการและเสียค่าปรับ 2. คนต่างด้าวผู้ใดอยู่เกินกว่า …

Read moreการรายงานตัว 90 วัน ของแรงงานต่างด้าว

แรงงานต่างด้าวกับประกันสังคม

ในสังคมปัจจุบันนี้เป็นที่ทราบกันดีว่า ตลาดแรงงานของประเทศไทย ยังคงมีความต้องการแรงงานต่างด้าวอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะค่อนข้างขาดแรงงานจากคนไทย อาทิงานกรรมกรทั่ว ๆไป เช่นพนักงานเสิร์ฟ คนงานประมง หรือผู้รับใช้ในบ้าน ทำให้นายจ้างส่วนใหญ่เองก็เลือกที่จะจ้างแรงงานต่างด้าวมากกว่า ซึ่งแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย ส่วนใหญ่ก็เป็นคนลาว พม่า และกัมพูชา มาจากประเทศเพื่อนบ้านของเรานั้นเอง การจ้างแรงงานต่างด้าวมาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมายก็ต้องนำเข้าผ่านกระบวนการที่เรียกว่า MOU ซึ่งแรงงานที่ทำงานในประเทศไทยได้ต้องมีเอกสารให้ครบ 3 อย่างหลัก ๆคือ หนังสือเดินทาง(PASSPORT)  วีซ่าทำงานทำงานประเภทNON L-A และใบอนุญาตทำงาน(WORK PERMIT) และสำหรับนายจ้างที่มีลูกจ้างเป็นแรงงานต่างด้าวตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติแล้ว และมีเอกสารครบทั้ง 3 อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้ว ต้องแจ้งขึ้นทะเบียนประกันสังคม ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่ที่ลูกจ้างของท่านได้รับเอกสารครบถ้วน ซึ่งมีบทกำหนดโทษ กรณีนายจ้างไม่ขึ้นทะเบียนลูกจ้างภายใน 30 วันนับจากวันที่ลูกจ้างเข้าทำงานจะมีความผิดโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้จะมีกรณียกเว้นไม่ต้องขึ้นประกันสังคมเป็นผู้ประกันตนแต่ต้องทำประกันสุขภาพ คือลูกจ้างที่อยู่ในพวกกิจการเกษตรเพาะปลูก งานประมง งานป่าไม้ งานเลี้ยงสัตว์ งานค้าเร่ การค้าแบบแผงลอย …

Read moreแรงงานต่างด้าวกับประกันสังคม

ทำ MOU ดีอย่างไร ?

       การทำMOUคือการจ้างแรงงานต่างด้าวอย่างถูกต้องตามกฎหมาย การทำMOUเป็นลักษณะของการดำเนินการลงนามระหว่างทั้ง 2 ฝ่ายของประเทศต้นทางและประเทศที่จะนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานด้วยนั้นเอง โดยจะได้รับอนุญาตให้ทำงานในประเทศไทยได้คราวละ 2 ปี และสามารถต่อได้อีก 2 ปี (รวมเป็น 4 ปี) พอครบวาระ 4 ปี แล้วก็สามารถดำเนินการนำเข้าแรงงานใหม่ โดยผ่านกระบวนการของ MOUตามเดิม และเมื่อนายจ้างได้ตัดสินใจอยากจะจ้างแรงงานต่างด้าว ก็อาจเกิดความลังเลใจว่า ควรทำ MOUให้ดีไหม หรือแม้แต่ตัวแรงงานต่างด้าวเองก็คิดว่าควรเข้าระบบMOUดีหรือเปล่า วันนี้เราไปดูพร้อม ๆ กันค่ะ ว่าการทำMOUแล้วดีอย่างไร เพื่อเป็นการประกอบการตัดสินใจของท่านให้ง่ายขึ้นด้วย ข้อดีของนายจ้าง / สถานประกอบการ ที่จ้างแรงงานต่างด้าวระบบ MOU       การนำเข้าแรงงานต่างด้าวภายใต้ระบบMOU จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับตัวนายจ้างหรือผู้ประกอบการได้ 1.) ได้แรงงานต่างด้าวมาทำงานกับท่านอย่างถูกต้องตามกฎหมาย 2.) สามารถตรวจสอบประวัติ คัดกรองตามคุณสมบัติ ได้ตามคุณสมบัติตามที่นายจ้างต้องการ 3.) ป้องกันความเสี่ยง จากการถูกหลอก ถูกโกงจากนายหน้าเถื่อน 4.) นายจ้างสามารถเข้าถึงระบบข้อมูลแรงงานต่างด้าวของภาครัฐ สามารถนำเข้าได้จำนวนมาก นายจ้างสามารถกำหนดจำนวนแรงงานที่ต้องการ 5.) เสียค่าใช้จ่ายน้อย 6.) มีการควบคุมประเภทงาน …

Read moreทำ MOU ดีอย่างไร ?

เอกสารหายทำอย่างไร ?

นายจ้างที่จ้างแรงงานต่างด้าว หรือแม้แต่ตัวแรงงานต่างด้าวเอง เคยพบเจอปัญหาการทำเอกสารสูญหายหรือไหม เช่นหนังสือเดินทาง(PASSPORT)หาย หรือใบอนุญาตทำงานหาย ไม่ว่าจะลืมทิ้งไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ  หล่นหายระหว่างการเดินทาง ถูกลักขโมยไป หรือทำให้เอกสารเสียหายโดยไม่ได้ตั้งใจ หลายท่านอาจสงสัยว่าถ้าเกิดเหตุการณ์เช่นนี้แล้ว ต้องทำอย่างไรต่อ และสามารถดำเนินเรื่องได้ที่ไหน? วันนี้เราจะพาท่านไปเช็คสิ่งสำคัญที่ต้องมีเมื่อทำเอกสารหาย และวิธีการดำเนินการเมื่อเอกสารของท่านหายกันค่ะ ข้อแนะนำ : ก่อนอื่นเลยนายจ้างหรือแรงงานต่างด้าวควรพึ่งระวังคือ เอกสารทุกอย่างต้องมีสำเนาเก็บไว้ การมีเอกสารสำเนาจะสามารถค้นเอกสารได้ง่าย อย่างเช่น หน้าหนังสือเดินทาง(PASSPORT) หน้าวีซ่า และหน้าใบอนุญาตทำงาน โดยเฉพาะหน้าวีซ่านี้สำคัญมาก ถ้าเกิดเอกสารหายแล้ว โอกาสที่จะคัดสำเนาได้นั้นยากมาก เอกสารที่จำเป็นต้องมีและควรสำเนาเก็บไว้ คือ 1. สำเนาหน้าหนังสือเดินทาง (PASSPORT) ในหน้าที่สำเนาสิ่งที่ควรเห็นให้ชัดคือ (ดูตามรูปตัวอย่าง) ) หมายเลขหนังสือเดินทาง(PASSPORT)   ) ชื่อ ) วัน/เดือน/ปี เกิด 2. สำเนาหน้าวีซ่า (VISA) หน้าวีซ่าจะมีสติ๊กเกอร์ที่ได้จากสถานทูตตอนทำ MOU และตราแสตมป์ของตม.ที่ให้อยู่ได้ 2 ปี หรือถ้าไม่แน่ใจว่าหน้าไหนคือหน้าวีซ่า ท่านสามารถสำเนาทุกหน้าของหนังสือเดินทาง(PASSPORT)ได้เลย เพื่อความสบายใจ 3. สำเนาใบอนุญาตทำงาน (WORK …

Read moreเอกสารหายทำอย่างไร ?

ขั้นตอนการยื่น MOU

การทำMOUหรือการจ้างแรงงานต่างด้าวอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ส่วนใหญ่แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยจะเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกัน คือ พม่า ลาว และกัมพูชา การทำMOU เป็นลักษณะของการดำเนินการลงนามระหว่างทั้ง 2 ฝ่ายของประเทศต้นทางและประเทศที่จะนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานด้วย อย่างแรกแรงงานที่จะเข้ามาทำงานในประเทศไทยได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ต้องมีเอกสารให้ครบ 3 อย่าง เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ประกอบด้วย 1. หนังสือเดินทาง (PASSPORT) 2. วีซ่า (VISA) ประเภท NON L-A 3. ใบอนุญาตทำงาน (WORK PERMIT) 6 ขั้นตอนการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศตามระบบ MOU 1. การยื่นแบบคำร้องขอนำคนต่างด้าวมาทำงานมาในประเทศ (ยื่น Demand) สามารถยื่นเรื่องได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดหรือสำนักงานจัดหางานกรุงเทพพื้นที่1-10 ตามที่สถานประกอบการตั้งอยู่โดยมีเอกสารที่ใช้ยื่นดำเนินเรื่องคือ 1.1 แบบคำร้องขอนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ ( แบบ นจ.๒ ) 1.2 หนังสือแต่งตั้ง 1.3 สัญญาจ้างแรงงาน 1.4 เอกสารนายจ้าง บุคคลธรรมดา = สำเนา บัตรประชาชน/ทะเบียนบ้าน/ใบทะเบียนพาณิชย์(ถ้ามี)                           *ถ้าไม่ได้เป็นเจ้าบ้าน …

Read moreขั้นตอนการยื่น MOU

การต่อใบอนุญาตทำงาน 2 ปี

ใบอนุญาตทำงานคือ เอกสารที่ออกให้แก่ชาวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศไทย ที่มีจุดประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจ ประกอบกิจการ หรือเข้ามาเป็นลูกจ้าง เพื่อเป็นการยืนยันว่าบุคคลเหล่านั้นสามารถทำงานได้ถูกต้องตามกฎหมาย ใบอนุญาตทำงานแต่ละชนิดจะสอดคล้องกับงานที่แตกต่างกันเช่นเดียวกับระยะเวลาในการทำงานภายใต้พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าวของไทย พ.ศ.2551 มีลักษณะเป็นเล่มสีน้ำเงินหรือบัตรแข็งที่เรียกว่า “E-WORK PERMIT” เป็นใบอนุญาตทำงาน นั้นเอง        ขั้นตอนกระบวนการ MOU ของลูกจ้างที่เป็นแรงงานต่างด้าว ได้สิทธิในการทำงาน 4 ปี แต่จะได้ครั้งแรกคือ 2 ปี หลังจากครบ 2 ปีแรก สามารถขอทำงานต่อได้อีก 2 ปี สามารถดำเนินการยื่นขอต่ออายุ ก่อนใบอนุญาตหมดอายุ 1 เดือน และสามารถต่อใบอนุญาตทำงานได้ครั้งละไม่เกิน 2 ปี        ซึ่งในปัจจุบันหลายๆท่านยังคงไม่เข้าใจ ว่าการต่อใบอนุญาต 2 ปีหลังนั้นสำคัญ และไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไรด้วย หากเป็นเช่นนั้น อาจทำให้เกินการเสียค่าปรับ หรือถึงขั้นต้องกลับไปทำ MOU ใหม่ ทำให้เสียเวลาเพิ่ม และเสียสิทธิตรงนั้นไปเลย ดังที่กล่าวไปในข้างต้น ควรต่อใบอนุญาตก่อนหมดอายุ 1 เดือน เพราะว่าขั้นตอนต้องใช้เวลาพอสมควร หลักๆแล้วก็จะมีทั้งหมด …

Read moreการต่อใบอนุญาตทำงาน 2 ปี

การแจ้งเข้า – แจ้งออกแรงงานต่างด้าว

ตามกฎหมาย กำหนดให้นายจ้างที่จ้างคนต่างด้าวทำงานมีหน้าที่ต้องแจ้งเข้าให้กรมการจัดหางานทราบ คือชื่อ สัญชาติของคนต่างด้าวและลักษณะงานที่ทำภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่จ้าง และเมื่อคนต่างด้าวนั้นออกจากงานก็ต้องแจ้งให้กรมการจัดหางานทราบภายใน 15 วันเช่นกัน นับตั้งแต่วันที่คนต่างด้าวออกจากงาน พร้อมทั้งระบุสาเหตุที่ออกจากงานของแรงงานต่างด้าวด้วย กรณีที่คนต่างด้าวมาทำงานในประเทศไทย ตามระบบการนำเข้าแบบMOU โดยการนำเข้าของผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศ เมื่อคนต่างด้าวนั้นออกจากงาน นายจ้างที่จ้างคนต่างด้าว จะต้องแจ้งให้ผู้รับอนุญาตและกรมการจัดหางานทราบภายใน7วัน นับตั้งแต่วันที่คนต่างด้าวออกจากงาน พร้อมทั้งระบุสาเหตุที่ออกจากงานของแรงงานต่างด้าวด้วย ซึ่งถ้าหากนายจ้างไม่แจ้งการเข้าออกจากงานของคนต่างด้าวในกรณีดังกล่าว จะมีความผิดต้องระวังโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท โดยนายจ้างสามารถแจ้งการเข้าออกจากงานของคนต่างด้าวได้ที่สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน สำนักงานจัดหางานจังหวัด หรือสำนักงานจัดหางานกรุงเทพ พื้นที่1-10 ในเขตพื้นที่ตามที่ตั้งสถานประกอบการที่ต่างด้าวทำงานอยู่ หรืออีกทางคือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือโทรสาร สำหรับแจ้งการเข้ามาทำงานอันจำเป็นและเร่งด่วนที่มีระยาเวลาทำงานไม่เกิน 15วัน เอกสารใช้ดำเนินการแจ้งเข้า 1   ชุดแจ้งเข้า 5 ใบ – แบบแจ้งการจ้างต่างด้าว (สำหรับนายจ้างเซ็น)*หากเป็นกรณีนิติบุคคลให้กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม+ประทับตรา – ใบรับแจ้ง (สำหรับนายจ้าง)     – บต.13 ใช้สำหรับนำเข้าโดยบริษัทผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศ (สำหรับนายจ้างเซ็น)*หากเป็นกรณีนิติบุคคลให้กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม+ประทับตรา     – แบบแจ้งเข้าการเข้าทำงานของคนต่างด้าว (สำหรับต่างด้าวเซ็น)     …

Read moreการแจ้งเข้า – แจ้งออกแรงงานต่างด้าว