การแจ้งเข้า – แจ้งออกแรงงานต่างด้าว

ตามกฎหมาย กำหนดให้นายจ้างที่จ้างคนต่างด้าวทำงานมีหน้าที่ต้องแจ้งเข้าให้กรมการจัดหางานทราบ คือชื่อ สัญชาติของคนต่างด้าวและลักษณะงานที่ทำภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่จ้าง และเมื่อคนต่างด้าวนั้นออกจากงานก็ต้องแจ้งให้กรมการจัดหางานทราบภายใน 15 วันเช่นกัน นับตั้งแต่วันที่คนต่างด้าวออกจากงาน พร้อมทั้งระบุสาเหตุที่ออกจากงานของแรงงานต่างด้าวด้วย

กรณีที่คนต่างด้าวมาทำงานในประเทศไทย ตามระบบการนำเข้าแบบMOU โดยการนำเข้าของผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศ เมื่อคนต่างด้าวนั้นออกจากงาน นายจ้างที่จ้างคนต่างด้าว จะต้องแจ้งให้ผู้รับอนุญาตและกรมการจัดหางานทราบภายใน7วัน นับตั้งแต่วันที่คนต่างด้าวออกจากงาน พร้อมทั้งระบุสาเหตุที่ออกจากงานของแรงงานต่างด้าวด้วย

ซึ่งถ้าหากนายจ้างไม่แจ้งการเข้าออกจากงานของคนต่างด้าวในกรณีดังกล่าว จะมีความผิดต้องระวังโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท โดยนายจ้างสามารถแจ้งการเข้าออกจากงานของคนต่างด้าวได้ที่สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน สำนักงานจัดหางานจังหวัด หรือสำนักงานจัดหางานกรุงเทพ พื้นที่1-10 ในเขตพื้นที่ตามที่ตั้งสถานประกอบการที่ต่างด้าวทำงานอยู่ หรืออีกทางคือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือโทรสาร สำหรับแจ้งการเข้ามาทำงานอันจำเป็นและเร่งด่วนที่มีระยาเวลาทำงานไม่เกิน 15วัน

เอกสารใช้ดำเนินการแจ้งเข้า

1   ชุดแจ้งเข้า 5 ใบ

– แบบแจ้งการจ้างต่างด้าว (สำหรับนายจ้างเซ็น)*หากเป็นกรณีนิติบุคคลให้กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม+ประทับตรา

– ใบรับแจ้ง (สำหรับนายจ้าง)

    – บต.13 ใช้สำหรับนำเข้าโดยบริษัทผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศ

(สำหรับนายจ้างเซ็น)*หากเป็นกรณีนิติบุคคลให้กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม+ประทับตรา

    – แบบแจ้งเข้าการเข้าทำงานของคนต่างด้าว (สำหรับต่างด้าวเซ็น)

    – ใบรับแจ้ง (สำหรับคนต่างด้าว)

2   เอกสารต่างด้าว

    – สำเนาบัตรwork – สำเราหนังสือเดินทาง – สำเนาหน้าวีซ่าทำงานล่าสุด – ใบรับรองแพทย์

3  เอกสารนายจ้าง

    บุคคลธรรมดา  สำเนาประชาชน/ทะเบียนบ้าน/ใบทะเบียนพาณิชย์(ถ้ามี)

    *ถ้าไม่ได้เป็นเจ้าบ้าน ใส่เอกสารเจ้าบ้านมาด้วยพร้อมใบยินยอมให้ใช้สถานที่)

    นิติบุคคล หนังสือรับรองบริษัทไม่เกิน 3เดือน/สำเนาปชช.-ทะเบียนบ้านของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม

4  หนังสือมอบอำนาจนายจ้าง *กรณีนายจ้างไม่ได้มายื่นแจ้งเข้าด้วยตัวเอง

(สำหรับนายจ้างเซ็น*หากเป็นกรณีนิติบุคคลให้กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม+ประทับตรา)

5  เอกสารผู้รับมอบ

    – สำเนาบัตรประชาชน (ผู้รับมอบเซ็น)

    – กรณีมอบอำนาจให้บุคลากรของบริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ ให้มีเอกสารเพิ่มเติมเช่น สำเนาใบนจ. /  สำเนาหนังสือรับรองบริษัท / สำเนาบัตรประจำตัวลูกจ้าง / อื่น ๆ

* หมายเหตุ1 สำเนาเอกสารทุกฉบับต้องลงลายมือชื่อรับรอง

   นายจ้าง : กรณีบุคคลนายจ้างเซ็นปกติ ส่วนกรณีนิติบุคคลให้ผู้มีอำนาจลงนามและประทับตราบริษัท(ถ้ามี)

   ต่างด้าว : ให้คนต่างด้าวลงลายมือชื่อ หรือผู้รับมอบอำนาจ

* หมายเหตุ2 ทั้งหมดเป็นเพียงเอกสารและวิธีดำเนินการแจ้งเข้าเบื้องต้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงของสำนักงานจัดหางานแต่ละพื้นที่ได้

เอกสารใช้ดำเนินการแจ้งออก

1 ใบแจ้งออก (สำหรับนายจ้างเซ็น)*หากเป็นกรณีนิติบุคคลให้กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม+ประทับตรา พร้อมสำเนา2ใบ

2 ใบรับแจ้งนายจ้าง พร้อมสำเนา2ใบ

3 เอกสารเด็ก

   – สำเนาบัตรwork – สำเราหนังสือเดินทาง

4  เอกสารนายจ้าง

    บุคคลธรรมดา  สำเนาประชาชน/ทะเบียนบ้าน *ใบทะเบียนพาณิชย์(ถ้ามี)

                          *ถ้าไม่ได้เป็นเจ้าบ้าน ใส่เอกสารเจ้าบ้านมาด้วยพร้อมใบยินยอมให้ใช้สถานที่)

    นิติบุคคล หนังสือรับรองบริษัทไม่เกิน 3เดือน/สำเนาปชช.-ทะเบียนบ้านของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม

5  หนังสือมอบอำนาจนายจ้าง *กรณีนายจ้างไม่ได้มายื่นแจ้งเข้าด้วยตัวเอง

(สำหรับนายจ้างเซ็น)*หากเป็นกรณีนิติบุคคลให้กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม+ประทับตรา

6  เอกสารผู้รับมอบ

    – สำเนาบัตรประชาชน (ผู้รับมอบเซ็น)

    – กรณีมอบอำนาจให้บุคลากรของบริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ ให้มีเอกสารเพิ่มเติมเช่น สำเนาใบนจ. /  สำเนาหนังสือรับรองบริษัท / สำเนาบัตรประจำตัวลูกจ้าง / อื่น ๆ

* หมายเหตุ1 สำเนาเอกสารทุกฉบับต้องลงลายมือชื่อรับรอง

    นายจ้าง : กรณีบุคคลนายจ้างเซ็นปกติ ส่วนกรณีนิติบุคคลให้ผู้มีอำนาจลงนามและประทับตราบริษัท(ถ้ามี)

    ต่างด้าว : ให้คนต่างด้าวลงลายมือชื่อ หรือผู้รับมอบอำนาจ

* หมายเหตุ2 ทั้งหมดเป็นเพียงเอกสารและวิธีดำเนินการแจ้งออกเบื้องต้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงของสำนักงานจัดหางานแต่ละพื้นที่ได้

ตัวอย่างใบแจ้งออกที่สามารถเปลี่ยนนายจ้างได้ เราไปดูความสำคัญพร้อมกันที่ละข้อค่ะ (ตามรูป)

1. วันที่ออกจากงาน

เช่น ออกงานจากนายจ้างเดิมตั้งแต่18/มี.ค./63

       หานายจ้างใหม่ภายใน 02/เม.ย./63 (ใบแจ้งออกมีอายุ15วัน)

       เข้าทำงานกับนายจ้างใหม่ 02/เม.ย./63

       แจ้งเข้าทำงานกับนายจ้างใหม่ภายใน 17/เม.ย./63 (แจ้งเข้าภายใน15วัน)

2. วันที่รับเรื่อง อันนี้ไม่มีผล เป็นการรับเรื่องของเจ้าหน้าที่ที่กรมการจัดหางาน

3. สาเหตุที่ออกจากงาน ต้องไม่เป็นความผิดของลูกจ้าง เช่น เลิกจากเนื่องจากปรับลดคนงาน เลิกจากเนื่องจากนายจ้างปิดกิจการ เหตุผลดังกล่าวเป็นความผิดของนายจ้าง แรงงานต่างด้าวสามารถใช้สิทธิดังกล่าวไปเปลี่ยนนายจ้างได้       

การแจ้งเข้าและแจ้งออกแรงงานต่างด้าวมีความสำคัญกว่าที่คิดดังที่กล่าวไปข้างต้น บางท่านทำเรื่องMOUเสร็จแล้วได้รับใบอนุญาติทำงานแล้วก็คิดว่าไม่ต้องแจ้งเข้าหรือทำอะไรต่อแล้ว เช่นเดียวกัน เมื่อแรงงานต่างด้าวที่มาทำงานกับท่านลาออกไป ท่านก็อาจคิดว่าออกจากงานไปแล้วก็คือจบ ไม่ต้องแจ้งออกหรือทำอะไรต่อแล้ว ท่านต้องพึ่งระวังให้ดีและทำตามกฎระเบียบของกฎหมาย มิเช่นนั้นจะมีความผิดต้องระวังโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาทนั้นเอง