แรงงานต่างด้าวกับประกันสังคม

ในสังคมปัจจุบันนี้เป็นที่ทราบกันดีว่า ตลาดแรงงานของประเทศไทย ยังคงมีความต้องการแรงงานต่างด้าวอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะค่อนข้างขาดแรงงานจากคนไทย อาทิงานกรรมกรทั่ว ๆไป เช่นพนักงานเสิร์ฟ คนงานประมง หรือผู้รับใช้ในบ้าน ทำให้นายจ้างส่วนใหญ่เองก็เลือกที่จะจ้างแรงงานต่างด้าวมากกว่า ซึ่งแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย ส่วนใหญ่ก็เป็นคนลาว พม่า และกัมพูชา มาจากประเทศเพื่อนบ้านของเรานั้นเอง

การจ้างแรงงานต่างด้าวมาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมายก็ต้องนำเข้าผ่านกระบวนการที่เรียกว่า MOU ซึ่งแรงงานที่ทำงานในประเทศไทยได้ต้องมีเอกสารให้ครบ 3 อย่างหลัก ๆคือ หนังสือเดินทาง(PASSPORT)  วีซ่าทำงานทำงานประเภทNON L-A และใบอนุญาตทำงาน(WORK PERMIT) และสำหรับนายจ้างที่มีลูกจ้างเป็นแรงงานต่างด้าวตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติแล้ว และมีเอกสารครบทั้ง 3 อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้ว ต้องแจ้งขึ้นทะเบียนประกันสังคม ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่ที่ลูกจ้างของท่านได้รับเอกสารครบถ้วน ซึ่งมีบทกำหนดโทษ กรณีนายจ้างไม่ขึ้นทะเบียนลูกจ้างภายใน 30 วันนับจากวันที่ลูกจ้างเข้าทำงานจะมีความผิดโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ทั้งนี้จะมีกรณียกเว้นไม่ต้องขึ้นประกันสังคมเป็นผู้ประกันตนแต่ต้องทำประกันสุขภาพ คือลูกจ้างที่อยู่ในพวกกิจการเกษตรเพาะปลูก งานประมง งานป่าไม้ งานเลี้ยงสัตว์ งานค้าเร่ การค้าแบบแผงลอย งานแบบไม่ได้เป็นลูกจ้างตลอดปี เป็นงานแบบครั้งคราว หรือเป็นไปตามฤดูกาล รวมทั้งงานที่ทำงานบ้านนั้นเอง

ซึ่งสิทธิประกันสังคมเป็นผู้ประกันตนที่แรงงานต่างด้าวจะไปรับนั้นเหมือนกับแรงงานไทย ซึ่งจะได้รับความคุ้มครอง 7 กรณีด้วยกัน ได้แก่

  1. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
  2. กรณีคลอดบุตร
  3. กรณีทุพพลภาพ
  4. กรณีเสียชีวิต
  5. กรณีสงเคราะบุตร
  6. กรณีชราภาพ
  7. กรณีว่างงาน

สำหรับเรื่องของอัตราการนำส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคม จะอยู่ที่ 5 % จากค่าจ้างรายเดือนของลูกจ้างที่ได้รับจากนายจ้าง คือลูกจ้าง5 %  นายจ้าง5 %

ซึ่งมาตราการในครั้งนี้ถือว่าเป็นสวัสดิการภาคบังคับ เพื่อให้แรงงานต่างด้าวนั้นได้รับสิทธิประโยชน์มีความเสมอภาคและเท่าเทียมเหมือนกับแรงงานคนไทย นายจ้างผู้ประกอบการที่มีแรงงานต่างด้างเป็นลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป โดยเข้ามาทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ให้รีบมาแจ้งขึ้นทะเบียนแรงงานให้ถูกต้อง เพื่อเกิดประโยชน์แก่ตัวท่านและลูกจ้างของท่านเอง สำหรับนายจ้างที่ยังมีข้อสงสัย สามารถไปสอบถามได้ที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ตามที่ท่านสะดวกได้เลย หรือโทรไปสอบถามสายด่วนประกันสังคม ได้ที่เบอร์ 1506 และสามารถไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.sso.go.th ค่ะ