ขั้นตอนการยื่น MOU

การทำMOUหรือการจ้างแรงงานต่างด้าวอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ส่วนใหญ่แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยจะเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกัน คือ พม่า ลาว และกัมพูชา การทำMOU เป็นลักษณะของการดำเนินการลงนามระหว่างทั้ง 2 ฝ่ายของประเทศต้นทางและประเทศที่จะนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานด้วย อย่างแรกแรงงานที่จะเข้ามาทำงานในประเทศไทยได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ต้องมีเอกสารให้ครบ 3 อย่าง เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ประกอบด้วย

1. หนังสือเดินทาง (PASSPORT)

2. วีซ่า (VISA) ประเภท NON L-A

3. ใบอนุญาตทำงาน (WORK PERMIT)

6 ขั้นตอนการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศตามระบบ MOU

1. การยื่นแบบคำร้องขอนำคนต่างด้าวมาทำงานมาในประเทศ (ยื่น Demand)

สามารถยื่นเรื่องได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดหรือสำนักงานจัดหางานกรุงเทพพื้นที่1-10 ตามที่สถานประกอบการตั้งอยู่โดยมีเอกสารที่ใช้ยื่นดำเนินเรื่องคือ

1.1 แบบคำร้องขอนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ ( แบบ นจ.๒ )

1.2 หนังสือแต่งตั้ง

1.3 สัญญาจ้างแรงงาน

1.4 เอกสารนายจ้าง

บุคคลธรรมดา = สำเนา บัตรประชาชน/ทะเบียนบ้าน/ใบทะเบียนพาณิชย์(ถ้ามี)

                          *ถ้าไม่ได้เป็นเจ้าบ้าน ใส่เอกสารเจ้าบ้านมาด้วยพร้อมใบยินยอมให้ใช้สถานที่)

นิติบุคคล = หนังสือรับรองบริษัทไม่เกิน3เดือน/สำเนาบัตรประชาชน,ทะเบียนบ้านของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม

หลักฐานอื่นๆ = ถ้าเป็นกิจการเกษตรกร-โฉนด / เป็นกิจการก่อสร้าง-สัญญารับเหมาก่อสร้าง / กรณีเป็นสถานที่เช่า -สัญญาเช่าพร้อมเอกสารเจ้าบ้านและใบยินยอมให้ใช้สถานที่ / แผนที่สถานที่ทำงาน

1.5 กรณีผู้รับอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศเป็นผู้ดำเนินการใช้สัญญานำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานกับนายจ้างในประเทศ และใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำกับนายจ้างในประเทศ

1.6 หนังสือมอบอำนาจจากนายจ้าง*กรณีนายจ้างไม่มาดำเนินการเอง (นายจ้างเซ็น*หากเป็นนิติบุคคลให้กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม+ประทับตรา)

1.7 เอกสารผู้รับมอบ

– สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบ (ผู้รับมอบเซ็น)

– กรณีมอบอำนาจให้บุคลากรของบริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ ให้มีเอกสารเพิ่มเติมเช่น

   สำเนาใบนจ. / สำเนาหนังสือรับรองบริษัท / สำเนาบัตรประจำตัวลูกจ้าง / อื่น ๆ

* หมายเหตุ1 สำเนาเอกสารทุกฉบับต้องลงลายมือชื่อรับรอง

นายจ้าง : กรณีบุคคลนายจ้างเซ็นปกติ ส่วนกรณีนิติบุคคลให้ผู้มีอำนาจลงนามและประทับตราบริษัท(ถ้ามี)

ต่างด้าว : ให้คนต่างด้าวลงลายมือชื่อ หรือพิมพ์ลายนิ้วมือ

* หมายเหตุ2 ทั้งหมดเป็นเพียงเอกสารและวิธีดำเนินการยื่นDemand เบื้องต้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงของแต่ละสำนักงานจัดหางานแต่ละพื้นที่ได้

2. การดำเนินการของประเทศต้นทาง

กรมการจัดหางานส่งเอกสารให้ประเทศต้นทาง

ทางประเทศต้นทาง  -รับสมัคร -คัดเลือก -ทำสัญญา -จัดทำบัญชีรายชื่อ( Name List ) -ส่งบัญชีรายชื่อ( Name List )ให้นายจ้างไทย

เมื่อนายจ้างได้บัญชีรายชื่อ( Name List ) แล้วนำไปยื่นขั้นตอนต่อไป

3. การยื่นคำร้องขอรับใบอนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว (ยื่น ตท.2)

เมื่อนายจ้างได้บัญชีรายชื่อ ( Name List ) ที่ผ่านการประทับตราและลงลายมือชื่อรับรองอย่างเป็นทางการจากกระทรวงแรงงานของประเทศต้นทางแล้ว ให้ยื่นที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดหรือสำนักงานจัดหางานกรุงเทพพื้นที่1-10 ตามที่สถานประกอบการตั้งอยู่ มีค่าธรรมเนียมและค่ายื่นคำขอ 1,900 บาท กรณีนายจ้างนำเข้าเองวางหลักประกัน 1,000 บาท/คน ไม่เกิน 100,000 บาท โดยมีเอกสารที่ใช้ยื่นดำเนินเรื่องคือ

3.1 บัญชีรายชื่อ( Name List )

3.2 แบบคำขอรับใบอนุญาตทำงาน ( ตท.2)

3.3 หนังสือรับรองการจ้าง

3.4 สำเนาหนังสือเดินทาง (PASSPORT)

3.5 เอกสารนายจ้าง

บุคคลธรรมดา = สำเนา บัตรประชาชน/ทะเบียนบ้าน/ใบทะเบียนพาณิชย์(ถ้ามี)

                             *ถ้าไม่ได้เป็นเจ้าบ้าน ใส่เอกสารเจ้าบ้านมาด้วยพร้อมใบยินยอมให้ใช้สถานที่)

นิติบุคคล = หนังสือรับรองบริษัทไม่เกิน3เดือน/สำเนาบัตรประชาชน,ทะเบียนบ้านของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม

หลักฐานอื่นๆ = ถ้าเป็นกิจการเกษตรกร-โฉนด / เป็นกิจการก่อสร้าง-สัญญารับเหมาก่อสร้าง / กรณีเป็นสถานที่เช่า -สัญญาเช่าพร้อมเอกสารเจ้าบ้านและใบยินยอมให้ใช้สถานที่ / แผนที่สถานที่ทำงาน

3.6 หนังสือมอบอำนาจจากนายจ้าง*กรณีนายจ้างไม่มาดำเนินการเอง (นายจ้างเซ็น*หากเป็นนิติบุคคลให้กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม+ประทับตรา)

3.7 เอกสารผู้รับมอบ

– สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบ (ผู้รับมอบเซ็น)

 – กรณีมอบอำนาจให้บุคลากรของบริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ ให้มีเอกสารเพิ่มเติมเช่น

    สำเนาใบนจ. / สำเนาหนังสือรับรองบริษัท / สำเนาบัตรประจำตัวลูกจ้าง / อื่น ๆ

* หมายเหตุ1 สำเนาเอกสารทุกฉบับต้องลงลายมือชื่อรับรอง

นายจ้าง : กรณีบุคคลนายจ้างเซ็นปกติ ส่วนกรณีนิติบุคคลให้ผู้มีอำนาจลงนามและประทับตราบริษัท(ถ้ามี)

ต่างด้าว : ให้คนต่างด้าวลงลายมือชื่อ หรือพิมพ์ลายนิ้วมือ

* หมายเหตุ2 ทั้งหมดเป็นเพียงเอกสารและวิธีดำเนินการยื่นตท.2 เบื้องต้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงของแต่ละสำนักงานจัดหางานแต่ละพื้นที่ เช่นบางพื้นที่ใช้รูปถ่ายแรงงานต่างด้าวแบบสุภาพเสื้อคอปกพื้นหลังสีขาว 3รูป

4. การอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้าทำงาน

เมื่อยื่นตท.2ได้รับการอนุมัติแล้ว สำนักงานจัดหางานจังหวัดหรือสำนักงานจัดหางานกรุงเทพพื้นที่1-10

-แจ้งสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ ประเทศต้นทาง

-แจ้งสถานทูตเมียนมาประจำประเทศไทย (กรณีเมียนมา)

-แจ้งสำนักงานตรวจคนเข้าเมื่อง (ตม.)

5. การอบรมแรงงานต่างด้าวก่อนเข้าทำงาน

แรงงานต่างด้าวเข้ารับการอบรมที่ศูนย์แรกรับเข้าทำงานและสิ้นสุดการจ้าง (ไม่มีค่าธรรมเนียม)

6. การแจ้งการจ้าง / แจ้งเข้าทำงาน / การนำส่งใบรับรองแพทย์

เมื่อคนต่างด้าวมาถึงสถานที่ทำงาน ให้ดำเนินการดังต่อ ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด / สำนักงานจัดหางานกรุงเทพพื้นที่ 1-10

6.1 นายจ้างแจ้งการจ้างคนต่างด้าว ภายใน 15 วัน

6.2 แรงงานต่างด้าวแจ้งเข้าทำงาน ภายใน 15 วัน

6.3 แรงงานต่างด้าวต้องไปตรวจสุขภาพและนำใบรับรองแพทย์ยื่น ภายใน 30 วัน

*หมายเหตุ อย่าลืม! แจ้งที่พักอาศัยต่างด้าว ภายใน 24 ชั่วโมง

การยื่น MOU ทั้ง 6 ขั้นตอน มีรายละเอียดค่อนข้างซับซ้อน เพราะมีเอกสารต่าง ๆ ที่ต้องใช้เยอะมาก ท่านเองก็อาจไม่คุ้นชื่อหรือคุ้นตา และที่สำคัญระยะเวลาดำเนินการก็นานพอสมควร เมื่อท่านอยากจ้างแรงงานต่างด้าวอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ก็ต้องยื่นเรื่องทำ MOU แต่อ่าน ๆ ดูแล้วหลายท่านก็อาจคิดว่าเป็นเรื่องยากที่จะทำด้วยตัวเอง ท่านไม่ต้องกังวลไป ปัจจุบันมีหน่วยงานเอกชนมากมายที่รับดำเนินการเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวทุกขั้นตอน ท่านสามารถปรึกษาได้ตามความสะดวก และเลือกหน่วยงานที่ท่านไว้ใจ ซึ่งทางเรา บริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ ฟาสท์ แอนด์ อีซี่ จำกัด ก็พร้อมเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำให้กับท่าน แค่นี้การทำ MOU ก็จะเป็นเรื่องที่ง่าย สบายใจได้เลยค่ะ