การรายงานตัว 90 วัน ของแรงงานต่างด้าว

คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวแล้ว ถ้าอยู่ในราชอาณาจักรเกิน 90 วัน   คนต่างด้าวผู้นั้นมีหน้าที่ต้องรายงานตัวแจ้งที่พักอาศัยต่อพนักงานสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ทุก90 วัน หากท้องที่ใดมีที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองตั้งอยู่จะแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ทำการแห่งนั้น ก็ได้ เป็นไปตาม มาตรา 37(5) แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522

วิธีการแจ้ง

  1. คนต่างด้าวไปดำเนินเรื่องด้วยตนเอง

2. คนต่างด้าวมอบหมายให้ผู้อื่นนำหนังสือไปดำเนินเรื่อง

3. คนต่างด้าวอาจมีหนังสือแจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน

อกสารในการแจ้ง กรณยื่นด้วยตนเอง

1. หนังสือเดินทาง (Passport)

2. ใบรับแจ้งการอยู่เกิน 90 วัน (กรณีที่มีการแจ้งอยู่เกิน90 วันมาแล้ว)

3. กรอกรายละเอียดใน แบบฟอร์ม ตม. 47 พร้อมลงลายมือชื่อ

ข้อควรระวัง

1. คนต่างด้าวสามารถแจ้งที่พักอาศัยได้ ก่อน 15 วันหรือหลัง 7 วัน นับจากวันครบกำหนด หากเกินกำหนดนัด หรือเกินกำหนดที่จะต้องแจ้ง คนต่างด้าวต้องมารายงานตัวด้วยตนเองเพื่อดำเนินการและเสียค่าปรับ

2. คนต่างด้าวผู้ใดอยู่เกินกว่า 90 วัน ไม่แจ้งที่พักอาศัยต่อเจ้าหน้าที่ หรือแจ้งช้ากว่าที่กำหนด ต้องมารายงานตัวด้วยตนเอง และเสียค่าปรับ จำนวน 2000 บาท หรือคนต่างด้าวถูกจับกุมตัวมาไม่ว่ากรณีใด ๆ ต้องเสียค่าปรับ จำนวน 4,000 บาท

3. กรณีคนต่างด้าวเดินทางออกนอกประเทศก่อนครบกำหนดนัดครั้งต่อไป เมื่อเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว ให้มารายงานตัวแจ้งที่พักอาศัยครั้งต่อไป เมื่อครบกำหนด 90 วัน นับแต่วันเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ครั้งสุดท้าย

4. เมื่อคนต่างด้าวเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เมื่อเดินทางกลับมาให้เริ่มนับเวลา 90 วันใหม่ทุกกรณี

5. การรับแจ้งที่พักอาศัย กรณีคนต่างด้าวอยู่เกิน 90 วัน มิใช่ เป็นการขออยู่ต่อในราชอาณาจักร

6. การรายงานตัวในครั้งแรก แรงงานต่างด้าวหรือนายจ้าง ควรจะมาดำเนินการด้วยตนเอง

ดังที่ได้กล่าวไป การรายงานตัว 90 วันของแรงงานต่างด้าวนั้นมีความสำคัญมาก ละเลยไม่ได้ ทั้งตัวนายจ้างเองหรือแรงงานต่างด้าว ลองสำรวจเอกสาร สำรวจตัวเองดูว่าใกล้ครบกำหนดการรายงานตัว 90 วันแล้วหรือยัง อย่าปล่อยจนเหลือเวลาน้อยและสุดท้ายก็เกินกำหนด ทำให้ตัวท่านต้องมาเสียเวลาและเสียค่าปรับโดยไม่จำเป็น