เปลี่ยนพาสปอร์ตท่องเที่ยวให้เป็นพาสปอร์ตทำงาน กัมพูชา

หนังสือเดินทาง (PASSPORT)คือเอกสารสำคัญประจำตัวที่รัฐบาลประเทศหนึ่งซึ่งออกให้แก่พลเมืองหรือคนในชาติของตน เพื่อใช้แสดงตนในการเดินทางไปต่างประเทศ  เพื่อให้ประเทศนั้น ๆได้มีการอำนวยความสะดวกในเรื่องของความปลอดภัย  หรือการให้ความช่วยเหลือ ความคุ้มครองทางกฎหมายขณะที่พลเมืองของตนอยู่ในประเทศนั้น ๆ  หนังสือเดินทางต้องได้รับการประทับการตรวจลงตราหรือวีซ่าจากหน่วยงานของประเทศ เว้นแต่จะมีความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราระหว่างประเทศ สัญชาติกัมพูชา – International Passport ลักษณะเป็นเล่มสีเลือดหมู มีอายุ 10 ปี สามารถทำMOUได้ – Travel Document (TD)  ลักษณะเป็นเล่มสีดำ มีอายุ 5 ปี สามารถทำMOUได้ แต่ไม่สามารถทำวีซ่าประเภทท่องเที่ยวได้ (เล่มนี้ไว้ใช้เฉพาะทำงานในประเทศไทยเท่านั้น) สำหรับนายจ้างที่มีลูกจ้างเป็นแรงงานต่างด้าวเป็นคนกัมพูชา ที่ยังถือพาสปอร์ตเล่มสีแดง แต่เป็นพาสปอร์ตท่องเที่ยว ซึ่งต้องไปต่อทุก 14 วัน อยากจะเปลี่ยนให้เป็นวีซ่าทำงานต้องทำยังไง โดยปกติแล้วคนกัมพูชาถ้าเดินทางเข้ามาที่ประเทศไทย จะได้วีซ่าแบบ 14 วัน เป็นวีซ่าท่องเที่ยว เมื่อก่อนในอดีตคนกัมพูชาจะนิยมขอวีซ่าท่องเที่ยวแบบ 2 เดือน แต่ปัจจุบันการขอวีซ่าท่องเที่ยวแบบ 2 เดือน ทำได้ยากขึ้นมาก เนื่องจากต้องมีเงินในบัญชีให้สถานทูตตรวจสอบได้ ดังนั้นคนกัมพูชาส่วนใหญ่ จึงถือแค่วีซ่าท่องเที่ยวแบบ 14 วัน เพื่อเข้ามาในประเทศไทย …

Read moreเปลี่ยนพาสปอร์ตท่องเที่ยวให้เป็นพาสปอร์ตทำงาน กัมพูชา

การเปลี่ยนนายจ้างแรงงงานต่างด้าว

การเปลี่ยนนายจ้าง คือการแจ้งเข้าทำงานกับนายจ้างรายใหม่ นับจากการออกจากนายจ้างเดิม กรณีที่แรงงานต่างด้าวจะสามารถเปลี่ยนนายจ้างได้มี 2 สาเหตุ คือ 1. ต้องให้นายจ้างเดิมยินยอม พร้อมกับมีใบแจ้งออกจากนายจ้างเดิม พิสูจน์ได้ว่าเป็นความผิดของนายจ้างเดิม ซึ่งปัจจุบันมีเงื่อนไข 5 ข้อที่สามารถเปลี่ยนนายจ้างได้ คือ    1.) นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือนายจ้างเสียชีวิต    2.) นายจ้างล้มละลาย    3.) นายจ้างกระทำทารุณกรรมหรือทำร้ายร่างกายลูกจ้าง    4.) นายจ้างไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างหรือกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน    5.) ลูกจ้างทำงานในสภาพแวดล้อมที่อาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย 2. นายจ้างใหม่ยินยอมชดใช้จ่ายค่าเสียหายให้นายจ้างเดิม ซึ่งตามกฎหมายแล้วค่าใช้จ่ายหมายถึงค่าใช้จ่ายในการนำเข้าทั้งหมด ** ส่วนเหตุผลการแจ้งออก กรณีอื่นๆ เช่น ลาออก กลับบ้าน ลูกจ้างไม่สามารถนำไปย้ายนายจ้างใหม่ได้ ต้องดำเนินการทำ MOU เพื่อขออนุญาตทำงานใหม่กับนายจ้างเท่านั้น        ในปัจจุบัน แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยจะเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย คือประเทศ พม่า ลาว และกัมพูชา ก็จะประกอบไปด้วย …

Read moreการเปลี่ยนนายจ้างแรงงงานต่างด้าว

ไขข้อข้องใจการดูเอกสารแรงงานต่างด้าว (ลาว,พม่า,กัมพูชา)

เนื่องด้วยในปัจจุบัน ประเทศไทยมีการพัฒนางานอุตสาหกรรมหรือการเติบโตของธุรกิจต่าง ๆ มากขึ้น ซึ่งตามมาด้วยความต้องการแรงงานมากขึ้น แต่ถ้างานนั้นแรงงานไทยไม่สามารถทำได้ด้วยหลายปัจจัยที่แตกต่างกันไป อีกทางเลือกหนึ่งของนายจ้างคือ..การจ้างแรงงานต่างด้าว ส่วนใหญ่แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยจะเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกัน คือ พม่า ลาว และกัมพูชา และเมื่อนายจ้างมีความต้องการที่จะจ้างแรงงานต่างด้าวมาทำงาน เอกสารหรือหลักฐานประจำตัวของแรงงานจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก เพื่อให้ลูกจ้าง “มีหลักฐาน” ให้นายจ้าง “ตรวจสอบได้” และ ให้ทางรัฐบาล “ยืนยันตัวตน” ว่าบุคคลนั้นจะเป็นแรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งตามหลักสากล แรงงานที่จะเข้ามาทำงานในประเทศนั้นๆ จะต้องมีหนังสือเดินทาง วีซ่าการทำงาน และใบอนุญาตทำงาน อ่าน ๆ ดูแล้วท่านอาจเกิดข้อสงสัยมากขึ้น งั้นวันนี้เราค่อย ๆ ไปทำความรู้จัก เอกสารต่าง ๆ ไปพร้อม ๆ กันค่ะ หนังสือเดินทาง (PASSPORT) คือเอกสารสำคัญประจำตัวที่รัฐบาลประเทศหนึ่งซึ่งออกให้แก่พลเมืองหรือคนในชาติของตนเพื่อใช้แสดงตนในการเดินทางไปต่างประเทศ  เพื่อให้ประเทศนั้นๆได้มีการอำนวยความสะดวกในเรื่องของความปลอดภัย  หรือการให้ความช่วยเหลือ ความคุ้มครองทางกฎหมายขณะที่พลเมืองของตนอยู่ในประเทศนั้นๆ  หนังสือเดินทางต้องได้รับการประทับการตรวจลงตราหรือวีซ่าจากหน่วยงานของประเทศ เว้นแต่จะมีความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราระหว่างประเทศ หนังสือเดินทางของแต่ละประเทศก็มีความแตกต่างกัน เราไปดูประเภทของหนังสือเดินทาง (PASSPORT) แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ V สัญชาติลาว V …

Read moreไขข้อข้องใจการดูเอกสารแรงงานต่างด้าว (ลาว,พม่า,กัมพูชา)

ถึงเวลาที่ MOU แรงงานต่างด้าวไปต่อได้แล้วหรือยัง

นับตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม 2563 เป็นวันแรกที่ประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อโควิด 19 ในประเทศเป็น 0 ในรอบ 4 เดือน และยังคงรักษาสถิติผู้ติดเชื้อภายในประเทศเป็น 0 ติดต่อกัน เป็นระยะเวลา 50 วันโดยไม่เจอผู้ติดเชื้อในประเทศ ซึ่งเท่ากับว่าคนที่อยู่ในประเทศไทย ตอนนี้ไม่มีผู้ติดเชื้อแล้ว แต่ถ้าติดตามข่าวทุกวันมักจะพบว่ายังคงมีผู้ติดเชื้อเกือบทุกวัน แต่เป็นผู้ติดเชื้อที่เดินทางมาจากต่างประเทศเพื่อเข้าประเทศไทย ผ่านการคัดกรองกักตัว 14 วันและมีการตรวจพบในระหว่างกักตัว รัฐได้เปิดใช้มาตรการดังกล่าวมาตั้งแต่ต้นเดือน เมษายน ซึ่งเป็นเครื่องพิสูจน์ได้ว่ามาตรการ กักตัว 14 วันของรัฐใช้ได้ผลและมีประสิทธิภาพ โดยที่ไม่มีผู้ติดเชื้อผ่านการคัดกรองเข้ามาในประเทศไทย จนบัดนี้เป็นระยะเวลา 50 วันที่ไม่มีผู้ติดเชื้อ สถานการณ์แรงงานต่างด้าว มีแรงงานต่างด้าวบางส่วนเดินทางกลับบ้านตั้งแต่ประเทศไทยเริ่มมีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 เพราะกังวลเรื่องความปลอดภัยและถือโอกาสกลับไปเยี่ยมบ้านเนื่องจากเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมาก็ยังไม่สามารถกลับเข้ามาในประเทศไทยได้ ปัจจุบันทางภาครัฐเองก็ได้อนุญาติผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวที่มีความจำเป็นสามารถเดินทางกลับประเทศภูมิลำเนาของตนเองได้ ทำให้มีแรงงานต่างด้าวเริ่มทยอยกลับบ้านเรื่อยๆ เพราะตกงานหรือกิจการเลิกจ้างเพราะนายจ้างปิดกิจการ บางส่วนก็กังวลนโยบายที่ไม่ชัดเจนของรัฐที่เกี่ยวกับแรงงานต่างด้าว เพราะไม่อยากอยู่อย่างผิดกฎหมาย โดยสภาวะปกติแล้วการหมุนเวียนแรงงานจะมีทั้งเข้าและออก แต่เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันเรามีแต่แรงงานออก ไม่มีแรงงานเข้า ฉะนั้นแรงงานในประเทศก็จะทยอยลดลงไปเรื่อยๆ พอภาครัฐเริ่มผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ทำให้ธุรกิจบางอย่างกลับมาดำเนินการได้ตามปกติ อัตราการใช้แรงงานก็เพิ่มสูงขึ้น แต่แรงงานบางส่วนได้กลับบ้านไป เนื่องจากนายจ้างหยุดกิจการชั่วคราว และเพราะแตกตื่นเรื่องโควิด 19 ที่ระบาดในประเทศไทยตอนนั้น …

Read moreถึงเวลาที่ MOU แรงงานต่างด้าวไปต่อได้แล้วหรือยัง

แรงงานต่างด้าว แย่งงานคนไทยจริงหรือ

แรงงานต่างด้าว

แรงงานต่างด้าว แย่งงานคนไทยจริงหรือ ถ้าเราลองมองย้อนกลับไป รายได้หลักของประเทศไทยได้มาจาก ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการเป็นหลักของจีดีพีในประเทศซึ่งสถานการณ์ปัจจุบันเราประสบปัญหาเรื่องโรคไวรัสโคโรน่า หรือ covic 19 ทำให้สภาพเศรษฐกิจโดยเฉพาะ ภาคบริการ โรงแรม ท่องเที่ยว กระทบหนัก ไม่มีนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเข้ามา และไม่มีแสงสว่างว่าปัญหานี้จะสิ้นสุดเมื่อไรตราบใดที่เรายังไม่มีวัคซีนรักษาโรค ธุรกิจที่พึ่งพิงรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยเฉพาะธุรกิจภาคบริการน้อยใหญ่ ยังไม่มีทางออก และแนวโน้มที่จะลดพนักงาน หากขาดการแก้ปัญหาอย่างทันท่วงที และจะเป็นปัญหาเกี่ยวเนื่องไปยังธุรกิจอื่นๆ ในประเทศ เนื่องจากการที่คนตกงานทำให้กำลังซื้อภายในประเทศลดลง เพราะคนตกงานขาดรายได้ และเป็นประเด็นอ่อนไหว ลุกลามไปยังประเด็น ไม่รับแรงงานต่างด้าวเพื่อสงวนงานให้คนไทยที่ตกงานได้ทำงาน ซึ่งจะเห็นได้ว่ารัฐบาลไม่มีการพูดถึงประเด็นเรื่องการจัดการแรงงานต่างด้าวเลย นับตั้งแต่เกิดวิกฤตที่ผ่านมาเข้าเดือนที่ 4 แล้ว แถมยังปล่อยให้อยู่ในสถานะคลุมเครือไม่มีทิศทาง ทั้งที่ลืมไปว่าเครื่องจักรหารายได้เข้าประเทศที่สำคัญ อีกเครื่องจักรหนึ่ง คือ ภาคอุตสาหกรรม และ เกษตร ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบของประเทศเรา เพราะประเทศอื่นๆ สถานการณ์ยังไม่ดี ต้องเปิดๆ ปิด ๆ ผลิตได้ไม่เต็มที่ ต่างจากของเรา เราสามารถผลิตได้เต็มที่ แต่ขาดปัจจัยที่สำคัญ คือ แรงงาน และที่ขาดแคลนมากคือ งานที่ไม่มีคนไทยทำ คือ งานกรรมกร แล้วทำไมไม่ใช้แรงงานไทยที่ตกงานแทน แรงงานไทยที่ตกงานส่วนใหญ่มาจาก …

Read moreแรงงานต่างด้าว แย่งงานคนไทยจริงหรือ

ทำไมคนไม่เข้าศูนย์ OSS ต่อใบอนุญาตทำงานต่างด้าว ตามเป้า

สวัสดีเพื่อนสมาชิกทุกท่าน ก่อนอื่นต้องแสดงความยินดีที่กลุ่มมีสมาชิกทะลุ 7 หมื่นคน กลุ่มนี้ก็ยังมีวัตถุประสงค์เหมือนเดิมคือ ช่วยเหลือแบ่งปันความรู้กัน และเราคงต้องอยู่ด้วยกันไปอีกนาน ตราบใดที่ประเทศเรายังขาดแคลนแรงงาน สิ่งนึงที่ผมอยากจะแชร์ในแง่การทำงานของ บริษัทนำเข้า เราเป็นตัวกลางระหว่างรัฐกับนายจ้าง ณ วันนี้ภาครัฐพยายามทุกวิถีทาง เพื่อกระตุ้นให้นายจ้างนำแรงงานไปต่อใบอนุญาตทำงานที่จะหมดเดือน มีค นี้ ตั้งแต่มาตรการประชาสัมพันธ์ จนถึง มาตรการออกตรวจ แต่ยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร ซึ่งผมจะสรุปปัญหาที่ผมมองดังนี้ 1 การใช้ระบบออนไลน์ ในระยะเวลากระชั้นชิดเกินไป ปกติการขึ้นระบบใช้งาน ต้องเผื่อเวลาอย่างน้อย 3 เดือน เพื่อทดสอบระบบ และ เพื่อให้ผู้ใช้ได้เกิดการเรียนรู้ ทั้งเจ้าหน้าที่ นายจ้าง บนจ และ เผื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด เช่น ความถูกต้องของข้อมูล เท่าที่ผมรับมาประมาณ 10-15 เปอร์เซนต์ ข้อมูลไม่มีหรือไม่ตรง โดยเฉพาะกลุ่มที่เปลี่ยนนายจ้างบ่อยๆ ซึ่งต้องแก้ปัญหาโดยการไปจัดหางานพื้นที่ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ช่วยแก้ไขข้อมูล แต่ก็ยังมีบางกรณีที่จัดหางานพื้นที่เองก็ไม่สามารถแก้ไขได้ หรือหาสาเหตุไม่ได้ ตรงจุดนี้ถ้าเป็นนายจ้างทั่วไปคงไปไม่ถูกและเสียเวลามากกว่าการยื่นแบบปกติ การจ่ายเงินก็เหมือนกันในแง่ของนายจ้างรายใหญ่หรือบริษัทนำเข้า ที่ต้องนำเอกสารไป ร้อยๆ รายให้พนักงานเซเว่น คีย์ ใช้เวลานานมาก 3 …

Read moreทำไมคนไม่เข้าศูนย์ OSS ต่อใบอนุญาตทำงานต่างด้าว ตามเป้า

ต่างด้าวหายไปไหน 900,000 คน

สวัสดีเพื่อนสมาชิกทุกท่าน ช่วงนี้ผมอาจจะโพสต์บ่อยไป เพราะผมรู้สึกกังวลใจไม่น้อยกับตัวเลขที่ได้รับมาและจากการสัมผัสกับลูกค้าโดยตรง ผมจำเป็นต้องสะท้อนปัญหาให้ท่านที่เกี่ยวข้องทราบ จากที่กรมแถลงต่างด้าวเป้าหมายมีอยู่จำนวน 1,741,096 คน ที่ต้องขึ้นทะเบียนต่ออายุในครั้งนี้ แต่จากข่าวล่าสุดเมื่อวันที่ 20 กพ 2563 มีตัวเลขการยื่นบัญชีรายชื่อแล้ว 845,544 คน (https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/26675) หมายความว่าต่างด้าวที่ยังไม่ยื่นอีกประมาณ 900,000 คน ซึ่งเป็นตัวเลขที่เยอะมาก หมายความว่าคนจำนวนนี้ยังไม่เริ่มยื่นบัญชีออนไลน์เลย ถ้าผมประมาณตัวเลขการทำ MOU ทั้งปีน่าจะประมาณ 4-5 แสนคน ต่อให้กลุ่มคนจำนวนนี้กลับไปทำ MOU ปีที่ผ่านมาทั้งหมด ก็ยังเหลืออีก หลายแสนอยู่ดี สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่าเรามีคนที่หลุดระบบไม่สามารถดำเนินการได้ต้องมีเป็นหลักแสนเป็นอย่างน้อย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสัญชาติพม่า และอยู่ในภาคธุรกิจที่เป็น SME และแม่บ้าน นายจ้างหลายท่านโทรมาปรึกษาเรื่อง MOU พม่า เมื่อบอกเงื่อนไขโดยเฉพาะต้องกลับบ้านไปรออย่างน้อย 2 เดือน ไม่ค่อยมีใครทำ และผมก็เชื่อว่าทั้งนายจ้างและลูกจ้างก็กังวลใจไม่น้อย เพราะยังไม่มีทางออก ผมจึงอยากให้ทางภาครัฐช่วยหาทางออกให้กับนายจ้าง เพราะ MOU พม่า ปัจจุบันใช้เวลานานและยุ่งยากมาก จะหาวิธีแก้ไขให้ MOU ง่ายขึ้น หรือ จะผ่อนปรนกลุ่มนี้อีกครั้งถ้าคิดว่ายังไม่พร้อม …

Read moreต่างด้าวหายไปไหน 900,000 คน