การเปลี่ยนนายจ้างแรงงงานต่างด้าว

การเปลี่ยนนายจ้าง คือการแจ้งเข้าทำงานกับนายจ้างรายใหม่ นับจากการออกจากนายจ้างเดิม

กรณีที่แรงงานต่างด้าวจะสามารถเปลี่ยนนายจ้างได้มี 2 สาเหตุ คือ

1. ต้องให้นายจ้างเดิมยินยอม พร้อมกับมีใบแจ้งออกจากนายจ้างเดิม พิสูจน์ได้ว่าเป็นความผิดของนายจ้างเดิม ซึ่งปัจจุบันมีเงื่อนไข 5 ข้อที่สามารถเปลี่ยนนายจ้างได้ คือ

   1.) นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือนายจ้างเสียชีวิต

   2.) นายจ้างล้มละลาย

   3.) นายจ้างกระทำทารุณกรรมหรือทำร้ายร่างกายลูกจ้าง

   4.) นายจ้างไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างหรือกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน

   5.) ลูกจ้างทำงานในสภาพแวดล้อมที่อาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย

2. นายจ้างใหม่ยินยอมชดใช้จ่ายค่าเสียหายให้นายจ้างเดิม ซึ่งตามกฎหมายแล้วค่าใช้จ่ายหมายถึงค่าใช้จ่ายในการนำเข้าทั้งหมด

** ส่วนเหตุผลการแจ้งออก กรณีอื่นๆ เช่น ลาออก กลับบ้าน ลูกจ้างไม่สามารถนำไปย้ายนายจ้างใหม่ได้ ต้องดำเนินการทำ MOU เพื่อขออนุญาตทำงานใหม่กับนายจ้างเท่านั้น

       ในปัจจุบัน แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยจะเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย คือประเทศ พม่า ลาว และกัมพูชา ก็จะประกอบไปด้วย กลุ่มบัตรชมพูหรือกลุ่มพิสูจน์สัญชาติ และกลุ่ม MOU

กลุ่มบัตรชมพู / กลุ่มพิสูจน์สัญชาติ / กลุ่มMOU

ต้องมีใบแจ้งออกจากนายจ้างเดิม (ดำเนินการที่สำนักงานจัดหางานตามนายจ้างเดิม เช่น ตามใบอนุญาติทำงานของนายจ้างเดิมอยู่ที่เขตบางรัก ก็ต้องไปดำเนินการแจ้งออกที่สำนักงานจัดหางานกรุงเทพ พื้นที่ 1) ใบแจ้งออกมีอายุ 15 วัน

แจ้งเข้านายจ้างใหม่ (ดำเนินการที่สำนักงานจัดหางานตามนายจ้างใหม่ เช่น นายจ้างใหม่ สถานที่ทำงานอยู่เขตคลองเตย ก็ต้องไปดำเนินการแจ้งเข้าที่สำนักงานจัดหางานกรุงเทพ พื้นที่ 2) และแจ้งเข้าภายใน 15 วัน

* หากไม่ทัน เกินกำหนด ใบอนุญาตทำงานและวีซ่าจะถูกยกเลิก และถูกส่งตัวกลับ ต้องนำเข้า MOU ใหม่เท่านั้น

ตัวอย่างสถานที่ตั้งสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานคร พร้อมเบอร์ติดต่อ           

   ถ้านายจ้างเดิมปฏิบัติตามข้อตกลงทุกอย่าง โดยนายจ้างไม่มีความผิด ลูกจ้างก็ไม่สามารถขอแจ้งเข้านายจ้างใหม่ได้จนกว่าจะทำงานครบตามสัญญาจ้าง หรือจนกว่าใบอนุญาตการทำงานกับนายจ้างเดิมจะหมดอายุ ซึ่งมีอายุไม่เกิน 2 ปี และแรงงานต่างด้าวที่หนีนายจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควร เพื่อไปทำงานกับนายจ้างรายใหม่ จะไม่อนุญาตให้ทำงานเป็นเวลา 2 ปี ต้องเดินทางกลับประเทศ และหากประสงค์จะกลับเข้ามาทำงานในประเทศไทยอีก ให้กลับเข้าทำงานภายใต้MOU

เอกสารที่ใช้ดำเนินการ

1. ใบแจ้งออกจากนายจ้างเดิม (ที่ดำเนินการอย่างถูกต้องตาม เงื่อนไข 5 ข้อที่สามารถเปลี่ยนนายจ้างได้และได้ยื่นที่สำนักงานจัดหางานเสร็จเรียบร้อยแล้ว)

2. เอกสารชุดแจ้งเข้า ประกอบด้วย

    2.1 ใบรับแจ้ง

    2.2 แบบแจ้งการจ้างคนต่างด้าว (สำหรับนายจ้างเซ็น*หากเป็นกรณีนิติบุคคลให้กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม+ประทับตรา)

    2.3 แบบแจ้งการเข้าทำงานของคนต่างด้าว (สำหรับคนต่างด้าวเซ็น)

3. แบบหนังสือรับรองการจ้าง (สำหรับนายจ้างเซ็น*หากเป็นกรณีนิติบุคคลให้กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม+ประทับตรา)

4. เอกสารของแรงงานต่างด้าว ประกอบด้วย

    4.1 สำเนาใบอนุญาตทำงานหน้า+หลัง หรือแบบเล่มให้สำเนาทุกหน้า (พร้อมตัวจริง)

    4.2 สำเนาหนังสือเดินทาง(PASSPORT) + ทุกหน้าที่มีประทับตรา VISAทำงาน (พร้อมตัวจริง)

5. หนังสือมอบอำนาจจากต่างด้าว*กรณีคนต่างด้าวไม่มาดำเนินการเอง (สำหรับคนต่างด้าวเซ็น)

6.อกสารของนายจ้าง

    6.1 กรณีนิติบุคคล

           – สำเนาหนังสือรับรองบริษัทอายุไม่เกิน 3 เดือน กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม+ประทับตรา

           – สำเนาบัตรประชาชนกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม

           – สำเนาทะเบียนบ้านกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม

   6.2  กรณีบุคคลธรรมดา

           – สำเนาประชาชน/ทะเบียนบ้าน /ใบทะเบียนพาณิชย์(ถ้ามี)

           *ถ้าไม่ได้เป็นเจ้าบ้าน ใส่เอกสารเจ้าบ้านมาพร้อมใบยินยอมให้ใช้สถานที่)

   6.3 แผนที่สถานที่ทำงาน ใช้ทั้งกรณีนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา

7. หนังสือมอบอำนาจจากนายจ้าง*กรณีนายจ้างไม่มาดำเนินการเอง (สำหรับนายจ้างเซ็น*หากเป็นกรณีนิติบุคคลให้กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม+ประทับตรา)

8. เอกสารผู้รับมอบ

    8.1 สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบ (ผู้รับมอบเซ็น)

    8.2 กรณีมอบอำนาจให้บุคลากรของบริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศให้มีเอกสารเพิ่มเติม

เช่น สำเนาใบนจ. / สำเนาหนังสือรับรองบริษัท / สำเนาบัตรประจำตัวลูกจ้าง / อื่น ๆ

* หมายเหตุ1 สำเนาเอกสารทุกฉบับต้องลงลายมือชื่อรับรอง

    นายจ้าง : กรณีบุคคลนายจ้างเซ็นปกติ ส่วนกรณีนิติบุคคลให้ผู้มีอำนาจลงนามและประทับตราบริษัท(ถ้ามี)

    ต่างด้าว : ให้คนต่างด้าวลงลายมือชื่อ หรือผู้รับมอบอำนาจ

* หมายเหตุ2 ทั้งหมดเป็นเพียงเอกสารและวิธีดำเนินการเบื้องต้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงของแต่ละสำนักงานจัดหางานแต่ละพื้นที่ได้ เช่นบางพื้นที่อาจใช้รูปถ่ายกิจการ / สัญญาจ้างแรงงานต่างด้าว / รูปถ่ายแบบสุภาพของคนต่างด้าว 3-5ใบ / ใบวางหลักประกัน เป็นต้น

       การดำเนินเรื่องเปลี่ยนนายจ้างไม่ใช่เรื่องที่ง่าย แต่ก็ไม่ยากเกินไป หากท่านค่อย ๆ ศึกษา ท่านก็สามารถไปดำเนินการด้วยตนเองได้เลย ดังนั้นจำเป็นต้องศึกษารายละเอียดต่าง ๆ ให้ครบถ้วน เพราะมีเอกสารที่ต้องใช้หลายอย่างดังข้างต้นที่ได้กล่าวไป และยังมีข้อจำกัดต่าง ๆ ทั้งเรื่องของเวลา และเหตุผลสมควรถึงจะเปลี่ยนได้ อ่าน ๆ ดูแล้วบางท่านก็อาจคิดว่าเป็นเรื่องยากที่จะทำด้วยตัวเอง ท่านไม่ต้องกังวลไป ปัจจุบันมีหน่วยงานเอกชนมากมายที่รับดำเนินการเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวทุกขั้นตอน ท่านสามารถปรึกษาได้ตามความสะดวก และเลือกหน่วยงานที่ท่านไว้ใจ ซึ่งทางเรา บริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ ฟาสท์ แอนด์ อีซี่ จำกัด ก็พร้อมเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำให้กับท่าน แค่นี้การดำเนินเรื่องนี้ก็จะเป็นเรื่องที่ง่าย สบายใจได้เลยค่ะ